วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบรรยายในหัวข้อ “เคล็ดวิธีหาเงิน ใช้เงิน ออมเงิน และทำเงิน ครั้งที่ 14”

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 9.25-10.00 น.

โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม จังหวัดกรุงเทพมหานคร

1.วิธีการหาเงิน

ในปัจจุบันนี้การหาเงินมีหลายวิธีมากมาย ล้วนแล้วแต่ทำให้มีรายได้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นจะมีวิธีการหาเงินเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองอย่างไร…???

วิธีการหาเงินสามารถทำได้ดังนี้ คือ

ฝึกทำงานพิเศษ หารายได้ด้วยตนเองโดย เพื่อฝึกให้เห็นถึงความลำบากของการหาเงินและคุณค่าของเงินที่หลายคนหลงลืมไป

ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีต่างๆมีการพัฒนาอย่างมากมาย การทำงานบนโลกอินเตอร์เน็ต โดยการทำงานออนไลน์ที่มีโฆษณาตามเว็ปต่างๆหรือบนเฟสบุ๊ค

การรับจ้างพิมพ์งาน วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่พิมพ์ดีดเก่งๆหรือเร็ว เพราะจะได้ประหยัดเวลาและทำให้ได้เงินด้วย

การขายของโดยการนำของที่ไม่ใช้แล้วมาขายเป็นของมือสอง เพื่อหารายได้พิเศษดีกว่าปล่อยให้ของที่ไม่ใช้นั้นเสียหายไปตามกาลเวลา

2. การใช้เงิน

เรามีความจำเป็นต้องใช้เงินอยู่ตลอดเวลา และถ้าเป็นเช่นนั้นเรามีเงินใช้ไม่พอจะทำอย่างไร ก็ต้องกลับมาที่เดิมว่า เราจะใช้เงินอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวเรา และยังมีเงินใช้ไปตลอดแม้กระทั่งหลังเกษียณอายุไปแล้ว จึงได้ลองนำทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในเรื่องการใช้เงินสรุปได้ว่า

1. การใช้จ่ายเงินในแต่ละครั้งต้องให้คุ้มค่ากับความพอใจที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการเลือกซื้อหรือบริโภคสินค้าหนึ่งๆ ก็ควรได้รับความพึงพอใจมากกว่าเงินที่เสียไปเสมอ

2. เลือกใช้ สินค้าทดแทน เช่น การเลือกใช้ของใช้ประจำวันต่างๆ ในบางครั้งควรเลือกใช้สินค้าประเภทเดียวกันแต่มีราคาถูกกว่า หรือการไม่ยึดติดกับยี่ห้อสินค้า

3. อย่าใช้เงินเกินรายได้ การใช้จ่ายเงินมากกว่ารายได้ที่ได้มานั้นหมายถึงการ เป็นหนี้ เพราะต้องกู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่าย เป็นเหตุให้รายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายได้ในอนาคตลดลง


3. การออมเงิน

โดยทั่วไปการออมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีรายได้มากกว่าการจ่ายของเขา ทางที่จะเพิ่มเงินออมให้แก่ บุคคล อาจทำได้โดยการพยายามหาทางเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นด้วยการทำงานมากขึ้น ใช้เวลาว่างในการหารายได้พิเศษ หรือการปรับปรุงงานที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมีรายได้สูงขึ้น เป็นต้น นอกจากนั้นการลดรายจ่ายลงด้วยการรู้จักใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมก็จะทำให้มีการออมเกิดขึ้นได้เหมือนกัน

สิ่งจูงใจในการออม

การที่คนเรามี เป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคตกำหนดไว้อย่างชัดเจนแน่นอนก็จะทำให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเก็บออมมากขึ้น เป้าหมายของแต่ละบุคลอาจแตกต่างกัน แล้วแต่ความจำเป็นและความต้องการ
ดังนั้นเป้าหมายในการออมแตกต่างกันนี้จะเป็นสิ่งที่กำหนดให้จำนวนเงินออมและระยะเวลาในการออมแตกต่างกันไป

การปฏิบัติเกี่ยวกับการออมที่ดี

เงินสดส่วนบุคคลขึ้น ซึ่งจะทำให้ทราบว่าแต่ละเดือนจะมีเงินคงเหลือเป็นเงินออมเท่าไหร่ ในทางปฏิบัติเพื่อให้การออมได้ผลจริงๆควรจัดทำดังนี้

- ทางที่จะสามารถทราบล่วงหน้าได้ว่าจะมีการออมได้หรือไม่นั้นก็โดยการจัดทำงบ ประมาณเงินทำงบประมาณรายได้รายจ่ายเพื่อจะรู้ว่ามีเงินเหลือที่จะเก็บออมเท่าไร

- เมื่อทำงบประมาณและทราบได้ว่าจะสามารถเก็บออมได้เดือนละเท่าไหร่แล้วให้กันเงิน ออมส่วนนั้น (ก่อนที่จะจ่ายเป็นรายจ่ายออกไป ) แล้วนำไปฝากธนาคารทันที

4. การทำเงิน

วิธีการทำเงินอย่างง่ายในเวลาปัจจุบัน เงินเป็นปัจจัยจำเป็นสำหรับคนทุกคน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หากเราใช้ไปโดยไม่ยั้งคิดหรือฟุ่มเฟือย ปัจจัยชนิดนี้ก็จะหมดไปโดยฝากความลำบากไว้ให้กับเราในอนาคต ดังนั้นการออมเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ ควรปลูกฝังการประหยัดเงินตั้งแต่อายุน้อยเพื่ออนาคตจะได้ไม่ต้องพบเจอกับ ความจนกับความลำบากและเมื่อรู้จักออมเงินให้เป็นแล้ว เราก็ควรนำเงินที่ออมนั้นไปทำประโยชน์ต่างๆเพื่อให้เงินที่มีอยู่นั้นมีเพิ่มขึ้น นั้นเอง

วิธีในการทำเงิน สามารถทำได้ดังนี้


นำเงินที่ออมไว้ไปฝากธนาคารเพื่อเอาให้ได้ดอกเบี้ย เป็นการทำให้เงินมีมากขึ้น เราจะฝากธนาคารเดียวหรือหลายธนาคารก็ได้

นำเงินที่มีไปลงทุนขายของเล็กๆน้อยๆในวันหยุดเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่นการลงทุนขายกิ๊ฟช็อป หรือขนมต่างๆ

ใช้จ่ายอย่างประหยัดและจำเป็น จะทำให้เราเป็นคนที่รู้จักค่าของเงินแล้วยังทำให้เงินที่เรามีอยู่นั้นไม่สูญหายไปหรือหมดไปกับของที่ไม่จำเป็น

นำเงินไปลงทุนกับเพื่อนหรือเรียกว่าหุ้นส่วนในการลงทุนทำอะไรที่มันใหญ่กว่าการลงทุนขายของ เช่น เป็นหุ้นส่วนร้านอาหาร เป็นหุ้นส่วนร้ายขายขนม เป็นต้นเพื่อจะมีกำไรจากการลงทุนมากกว่าเดิม

เรียนรู้กับหลักดำเนินชีวิตที่ในปัจจุบันกำลังนิยมมากคือ เศรษฐกิจพอเพียง ในข้อนี้สำคัญมากเพราะเป็นสิ่งที่ในหลวงของเราทรงย้ำเตือนคนไทยมากว่าหลายปี เป็นสิ่งที่ทุกคนควรอย่างยิ่งที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ถวายเป็นความภักดีเพื่อพระมหากษัตริย์ของปวงชนชาวไทย


การออมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ


๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ


๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต


โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ


๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


คำถาม เรื่อง เคล็ดวิธีหาเงิน ใช้เงิน ออมเงิน และทำเงิน

1. วิธีการหาเงินสามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง

2. ประโยชน์ของการหาเงินด้วยตนเอง ก่อให้เกิดผลดีอย่างไร

3. การใช้เงินให้คุ้มค่าที่สุดควรจะใช้แบบใด

4. หลักในการออมเงินที่ดีควรทำอย่างไร

5. การออมเงินตามความเข้าใจของคุณ หมายถึงอะไร

6. ประโยชน์ของการออมเงินมีอะไรบ้าง

7. วิธีการทำเงินมีกี่วิธี อะไรบ้าง

8. คุณคิดว่าในวิธีทำเงินในข้อไหนบ้างที่คุณสามารถทำได้ เพราะอะไร

9. ความพอประมาณตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงอะไร.

10. ให้บอกการใช้เงินในชีวิตประจำวันของคุณใน 1 วันว่าได้เงินมาจำนวนเท่าไร ใช้อย่างไร เก็บเท่าไร