วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของจุดมุ่งหมายในการจัดการการเงินในองค์กรและการจัดการการเงินส่วนบุคคล

2.จากการศึกษาเรื่องจุดมุ่งหมายในการจัดการการเงิน ให้นักศึกษาอธิบายความแตกต่างของจุดมุ่งหมายในการจัดการการเงินในองค์กรและการจัดการการเงินส่วนบุคคล

ความแตกต่างของจุดมุ่งหมายในการจัดการการเงินในองค์กร คือ การประกอบธุรกิจทุกประเภท ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญดังนี้

1. กำไร (Profit) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของการประกอบธุรกิจ คือ กำไรที่ได้จากการลงทุนทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์ในการดำเนินกิจการนั้น ๆ กำไรจึงเป็นตัวบ่งชี้ว่าธุรกิจนั้นจะสามารถดำเนินต่อไปได้หรือไม่

2. ความอยู่รอด (Survival) ในการประกอบธุรกิจผู้ประกอบการย่อมต้องการให้กิจการของตนเองสามารถดำเนินกิจการต่อไปเรื่อย ๆ โดยธุรกิจจะต้องมีการผลิตสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าและบริการก็จะทำให้ธุรกิจมีรายได้หรือกำไรเพียงพอที่จะดำเนินกิจการนั้น ๆ ต่อไปไม่หยุดชะงักหรือปิดกิจการ


3. ความเจริญเติบโต (Growth) การประกอบธุรกิจนอกจากจะต้องการความอยู่รอดแล้วยังต้องการความเติบโต ความเจริญก้าวหน้า มีการขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น หรือมีสาขาเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกิจการมีสินทรัพย์มาก และมีฐานะมั่นคง

4. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibilities) เมื่อกิจการที่ดำเนินงานมีทั้งกำไรความก้าวหน้าและมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง ผู้ประกอบการจะต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ชุมชน สังคม ตลอดจนสภาพแวดล้อมโดยไม่สร้างปัญหาให้กับผู้อยู่อาศัย เช่น ไม่สร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม


ความแตกต่างของจุดมุ่งหมายในการจัดการการเงินส่วนบุคคล

การวางแผนการเงินส่วนบุคคล คือ การบริหารจัดการเงินหรือรายได้ที่ได้มา และใช้เงินนั้นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และนับเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายทางการเงินได้

จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ในการลงทุน กล่าวคือ ผู้ลงทุนคาดหวังผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน ในลักษณะใด ดังต่อไปนี้คือ :-

- ต้องการทำกำไรจากการลงทุน ผู้ลงทุนที่ต้องการผลลัพธ์จากการลงทุนในรูปแบบนี้ คือ ผู้ลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยง หรือผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาในการลงทุนได้ หลักทรัพย์หรือตราสารที่จะเลือกลงทุน เช่น หุ้นของกิจการที่เริ่มก่อตั้ง หรือหุ้นของกิจการที่กำลังขยายตัว และมีกำไร แต่ไม่จ่ายปันผล เป็นต้น


- ต้องการมีรายได้ประจำจากการลงทุน ผู้ลงทุนที่ต้องการผลลัพธ์จากการลงทุนในรูปแบบนี้ คือ ผู้ลงทุนที่ต้องการกระแสเงินสดรับอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีพ หลักทรัพย์หรือตราสารที่จะเลือกลงทุนก็ต้องมีการระบุการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินปันผลแน่นอน เช่น พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น ส่วนระดับของความเสี่ยงก็ขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์หรือตราสารที่เลือกลงทุน ซึ่งอาจมีได้ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึงระดับสูง


- ต้องการให้เงินลงทุนมั่นคง ไม่ลดลง ผู้ลงทุนที่ต้องการผลลัพธ์จากการลงทุนในรูปแบบนี้ คือ สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ ดังนั้น หลักทรัพย์หรือตราสารที่เลือกลงทุนก็ต้องมีความเสี่ยงต่ำด้วย เช่น ตั๋วเงินคลัง เป็นต้น


- ต้องการผลตอบแทนรวม ผู้ลงทุนที่ต้องการผลลัพธ์จากการลงทุนในรูปแบบนี้ คือ สามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับกลางๆ ดังนั้น การลงทุนสามารถกระจายหรือผสมผสานกันได้ระหว่างหลักทรัพย์หรือตราสารทั้งสามรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น



ความสำคัญของการบริหารจัดการทางการเงินที่มีต่อองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน


1.จงอธิบายความสำคัญของการบริหารจัดการทางการเงินที่มีต่อองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน

การบริหารและการจัดการในภาครัฐและภาคเอกชนได้มีการให้ความสำคัญกับระบบคุณธรรม และจริยธรรม เนื่องจากการบริหารและการจัดการทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนประสบกับภาวะวิกฤติ อันเกิดจากการทุจริตที่ระบาดออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ความไม่รับผิดชอบต่อสังคมหรือส่วนรวม คำนึงแต่ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง อันเป็นการบริหารจัดการที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม


ธรรมาภิบาล (Good Governance) ในภาครัฐ นั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการขยายความสามารถของประเทศเพื่อสร้างรายได้และลด ปัญหาความยากจนในอนาคต หรือก่อให้เกิดการพัฒนาทางการบริหารปกครองของประเทศไปได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเศรษฐกิจแล้ว หลักการธรรมาภิบาล ยังได้รับการกล่าวถึงว่า เป็นแนวความคิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นส่งเสริมศักยภาพให้ภาคประชาสังคม (Civil Society) เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) อย่างยั่งยืน

ส่วนคำว่า บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ใน ภาคเอกชน คือ แกนหลักสำหรับการบริหารงานในยุคปัจจุบันที่ทุกหน่วยงานจะต้องให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความสำคัญของธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาลได้โดดเด่นขึ้นมา และกลายเป็นปัจจัยหลักของการพิจารณาการลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 2540 และแผ่ขยายไปอีกหลายประเทศในเอเชียนั้น สาเหตุสำคัญมาจากการขาดธรรมาภิบาล และบรรษัทภิบาล โดยที่วิกฤตการทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงปลายเหตุ ด้วยเหตุดังกล่าวธนาคารโลกจึงได้พิจารณาว่าตัวชี้วัดที่สำคัญที่แสดงถึงการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากวิกฤตเอเชียหาใช่เพียงตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ ดีขึ้นแต่อย่างเดียวไม่ แต่ภาวะของการฟื้นตัวอยู่ที่การพัฒนาบรรษัทภิบาล


ผลการดำเนินงานของภาคเอกชนไม่น้อยที่ขาดรากฐานที่ดี ขาดรากฐานบรรษัทภิบาลที่คอยค้ำจุนการเติบโตให้มั่นคงและยั่งยืน ขาดความสุจริตต่อผู้ถือหุ้น ต่อภาครัฐและต่อสาธารณชน คำนึงถึงวิธีการปฏิบัติเพียงแต่มุ่งเน้นให้เกิดกำไรระยะสั้น ขาดความรอบคอบโดยไม่คำนึงถึงกลไกการบริหารบริษัท


ดังนั้นปัญหาการขาดความเข้าใจในหลักบรรษัทภิบาลที่แท้จริง และการขาดความเชื่อมโยงที่จะแสดงให้เห็นถึงประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมของการ ปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลจึงน่าจะเป็นหัวใจสำคัญของการนำระบบบรรษัทภิบาลมา ใช้กับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในที่สุด

FIB331คำศัพท์

คำศัพท์
Debt คือ ตราสารหนี้
Equity Instruments คือ ตราสารทุน
Conflict of Interest คือ การขัดแย้งทางผลประโยชน์
Agency problem คือ กลไกในการลดปัญหาตัวแทน
Soccial Responsibility คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม
CFO-Chief Fianancial Officer คือ เป็นผู้บริหารสูงสุดทางด้านการเงินของบริษัท