วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการจัดการสินค้าคงคลัง MRP กับ JIT

MRP (Material Requirement Planning) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับกิจการที่มีโรงงาน (Manufactoring) ซึ่งมีระบบผลิต โดย ภายใต้กำลังการผลิตที่มีจำกัดของโรงงาน ทั้งในแง่ของบุคลากร, เครื่องจักรในการผลิต รวมถึงเวลาในการทำงาน ทำอย่างไรหน่วยงานต่าง ๆ ในโรงงาน จึงจะสามารถใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ให้เกิดประสิทธิภาพได้มากที่สุด เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินงาน และต่อสู้กับคู่แข่งได้ โดยโรงงานประกอบไปด้วยหน่วยงานที่รับผิดชอบในหน้าที่ซึ่งแตกต่างกัน ได้แก่ ฝ่ายวางแผนการผลิต (Planning), ฝ่ายผลิต (Production), ฝ่ายคลังสินค้าหรือสโตร์ (Warehouse), ฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing), ฝ่ายควบคุมการผลิต (Quality Control), ฝ่ายขาย (Sales) และฝ่ายบัญชี (Accounting) ดังนั้น การที่หน่วยงาน ดังกล่าวจะทำงาน โดยใช้ข้อมูลเดียวกันในการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด การนำซอฟท์แวร์ระบบ MRP เข้ามาช่วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ "ต้นทุน" เพื่อให้ทราบทั้งต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost) และ ต้นทุนที่แท้จริง (Actual Cost) เพราะจะทำให้กิจการสามารถทราบว่า การผลิตสินค้าใดก่อให้เกิดกำไรได้มากที่สุด หรือสินค้าใด ที่ผลิตแล้วไม่คุ้มทุน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจต่อการกำหนดแผนกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารต่อไป

ประโยชน์หรือความสำคัญของโปรแกรม MRP ดังต่อไปนี้
- MRP ช่วยในการบริหารการผลิต, การวางแผนการผลิต,ควบคุมการผลิต

- MRP ช่วยในการบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ
- MRP ช่วยลดความสูญเสียจากวัตถุดิบที่หมดอายุ
- MRP ช่วยวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบจากคู่ค้า
- MRP ช่วยลดต้นทุนการจัดซื้อวัตถุดิบ
- MRP ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
- MRP ช่วยลดความสูญเสียที่เกิดจากการผลิต
- MRP ช่วยวางแผนการใช้วัตถุดิบให้พอดีกับแผนการผลิต
- MRP ทำให้สามารถวางแผนและปรับแผนการผลิตได้โดยง่าย
- MRP ช่วยลดข้อผิดพลาดจากระบบเอกสารที่กระจัดกระจายไม่เชื่อมโยงกัน
- MRP ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานและเอกสารแต่ละแผนภายในโรงงาน
- MRP ทำให้ทราบต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าที่ผลิต
- MRP รองรับระบบคุณภาพต่าง ๆ เช่น TQM , QS , ISO เป็นต้น ฯลฯ

ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี ( Just-in-Time Production Systems) : JIT
การผลิตแบบ JIT คือ การที่ชิ้นส่วนที่จำเป็นเข้ามาถึงกระบวนการผลิตในเวลาที่จำเป็นและด้วยจำนวนที่จำเป็นหรืออาจกล่าวได้ว่า JIT คือ การผลิตหรือการส่งมอบ “ สิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ” ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ซึ่งลูกค้าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะลูกค้าผู้ซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงบุคลากรในส่วนงานอื่นที่ต้องการงานระหว่างทำหรือวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตต่อเนื่องด้วย โดยใช้วิธีดึง ( Pull Method of Material Flow ) ควบคุมวัสดุคงคลังและการผลิต ณ สถานีที่ทำการผลิตนั้นๆ ซึ่งถ้าทำได้ตามแนวคิดนี้แล้ววัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ งานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูปจะถูกขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิง


วัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดี
1. ควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือให้เท่ากับศูนย์ ( Zero inventory )
2. ลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิต ( Zero lead time )
3. ขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ( Zero failures )
4. ขจัดความสูญเปล่าในการผลิต ( Eliminate 7 Types of Waste ) ดังต่อไปนี้
- การผลิตมากเกินไป ( Overproduction ) : ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ถูกผลิตมากเกินความต้องการ
- การรอคอย ( Waiting ) : วัสดุหรือข้อมูลสารสนเทศ หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวหรือติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก
- การขนส่ง ( Transportation ) : มีการเคลื่อนไหวหรือมีการขนย้ายวัสดุในระยะทางที่มากเกินไป
- กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ ( Processing itself ) : มีการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น
- การมีวัสดุหรือสินค้าคงคลัง ( Stocks ) : วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีเก็บไว้มากเกินความจำเป็น
- การเคลื่อนไหว ( Motion ) : มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน
- การผลิตของเสีย ( Making defect ) : วัสดุและข้อมูลสารสนเทศไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ

วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle : SDLC)

วงจรการวิเคราะห์ระบบงาน ในการพัฒนาระบบนั้น ได้มีการกำหนดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และกำหนดขึ้นตอนที่เป็นแนวทางในนักวิเคราะห์ระบบปฏิบัติงานได้โดยมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด เพราะงานการวิเคราะห์ระบบในปัจจุบันมีความซับซ้อนของงานมากกว่าสมัยก่อน นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องการมาตรฐานในการพัฒนาระบบดังกล่าว จึงได้มีการคิดค้นวงจรการพัฒนาระบบงานขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของนักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis : SA)

วงจรการพัฒนาระบบงานสำหรับระบบงานทั่วไป วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle : SDLC) สำหรับระบบทั่วไปที่ได้มีการคิดค้นขึ้นมา สามารถแบ่งออกเป็นลำดับขั้นได้ 4 ขั้นตอน คือ

1. การวิเคราะห์ระบบงาน เป็นขึ้นตอนของการศึกษาระบบงานเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน (Current System) ปัญหาที่เกิดจากระบบงานเดิม ตลอดจนการศึกษาถึงความต้องการของธุรกิจ (Business Needs and Requirements) พร้อมกับการประเมินเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมมาแก้ปัญหา
2. การออกแบบและวางระบบงาน เป็นขึ้นตอนหลังจากการวิเคราะห์ระบบงานซึ่งเป็นขึ้นตอนที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องวางโครงสร้างของระบบงาน ในรูปลักษณะทั่ว ๆ ไปและในรูปลักษณะเฉพาะโดยมีการแจกแจงรายละเอียดที่แน่ชัดของแต่ละงาน หรือระบบงานย่อยของระบบที่ได้ออกแบบขึ้นจะถูกส่งต่อไปให้กับโปรแกรมเมอร์เพื่อจะได้ทำการเขียนโปรแกรมให้เป็นระบบที่ปฏิบัติงานได้จริงในขึ้นตอนต่อไป
3. การนำระบบเข้าสู่ธุรกิจหรือผู้ใช้ เป็นขึ้นตอนที่นำเอาระบบงานมาติดตั้ง (Install) ให้กับผู้ใช้ และเพื่อให้แน่ใจว่าระบบงานสามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ระบบงานจะต้องถูกทำการตรวจสอบมาอย่างดี พร้อมกับการฝึกอบรม (Education and Training) ให้ผู้ใช้ระบบสามารถใช้ระบบงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง
4. การดำเนินการสนับสนุนภายหลังการติดตั้งระบบงาน เป็นขั้นตอนที่ระบบงานใหม่ได้ถูกนำมาติดตั้งแล้วผู้ใช้ระบบอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบใหม่นักวิเคราะห์ระบบควรจะให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ระบบในการปฏิบัติงานทั้งนี้รวมถึงความต้องการต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปภายหลังจากระบบได้ถูกติดตั้ง ซึ่งนักจะเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาระบบงาน (System Maintenance) และการปรับปรุงระบบงาน (System Improvement)เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป และระบบงานที่กำลังปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเป็นต้องปรับปรุงใหม่ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องกลับไปเริ่มต้นที่ขั้นที่ 1 ใหม่ และจะเป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป ถ้าเกิดความเปลี่ยนแปลงของระบบ

วงจรการพัฒนาระบบงานสำหรับระบบสารสนเทศ วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle : SDLC) ของระบบสารสนเทศ ได้มีการคิดค้นขึ้นมาโดยมีขึ้นตอนที่แตกต่างไปจากวงจรการพัฒนาระบบงานสำหรับระบบงานทั่วไป ตรงที่มีขั้นตอนในการพัฒนาระบบงานที่ละเอียดว่าถึง 7 ขั้นตอน ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจว่าในแต่ละขั้นตอนว่าทำอะไรและทำอย่างไร สามารถแบ่งออกเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ

1. ค้นหาปัญหา โอกาสและเป้าหมาย (Identifying Problems, Opportunity and Objective)
2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
3. วิเคราะห์ความต้องการของระบบ (Analyzing System Needs)
4. การออกแบบระบบ (Designing the Recommended System)
5. พัฒนาซอฟต์แวร์และจัดทำเอกสาร (Developing and Documenting Software)
6. ทดสอบและบำรุงรักษาระบบ (Testing and Maintaining the System)
7. ดำเนินงานและประเมินผล (Implementing and evaluating the System)

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

Data Warehouse

คลังข้อมูล (Data Warehouse)

โดยปกติแล้วฐานข้อมูลในองค์กรทั่วไปจะมีลักษณะที่ค่อนข้างทันต่อเหตุการณ์ เช่น ฐานข้อมูลพนักงานก็จะเก็บเฉพาะพนักงานในปัจจุบัน จะไม่สนใจข้อมูลพนักงานเก่า ในอดีต ซึ่งอาจจะมีข้อมูลอะไรบางอย่าง ที่มีประโยชน์สำหรับผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและคุณลักษณะต่าง ขององค์กร. นอกจากนี้ ฐานข้อมูลแต่ละอันมักถูกออกแบบมาใช้เก็บข้อมูลเฉพาะด้าน จึงมีข้อมูลเฉพาะบางส่วนขององค์กรเท่านั้น ฉะนั้นคลังข้อมูลจึงถูกออกแบบมา เพื่อรวบรวมข้อมูลในทุกส่วนของทั้งบริษัท ทั้งเก่าและใหม่ไว้ด้วยกัน ไม่มีการลบทิ้งข้อมูลเก่า ที่ไม่จริงในปัจจุบัน

โดยสรุปคือ

-- คลังข้อมูล (Data Warehouse)ใช้เพื่อการวิเคราะห์ (ข้อมูลทั้งอดีตและปัจจุบัน)

ประโยชน์ของคลังข้อมูล

-- ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง ถึงแม้ว่าจะมีการลงทุนที่ต่ำก็ตาม

-- เนื่องจากมีการให้ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง จึงสามารถทำให้องค์กรเกิดความได้เปรียบคู่แข่งขันในแง่ของการได้รับข้อมูลและสารสนเทศก่อนคู่แข่งขันเสมอ จึงทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อทำการกำหนดเป็นกลยุทธ์ และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานได้ก่อนคู่แข่งขัน เช่น พฤติกรรมของผู้บริโภค ความต้องการทางตลาด และแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค

-- เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้ตัดสินใจ เนื่องจากคลังข้อมูลได้รับการให้ข้อมูลที่รับมาจากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน มีความสอดคล้องกัน และวิเคราะห์ตามประเด็นที่ผู้ตัดสินใจต้องการ อีกทั้งข้อมูลที่มีอยู่ในคลังข้อมูลก็มีปริมาณมากทั้งข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน จึงทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

-- ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลต่างๆ และลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลอีกด้วย